
การติดเชื้อโปรโตซัว ที่อันตรายได้

น้องแมวร่าเริง แต่ถ่ายเหลว อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อโปรโตซัว ที่อันตรายได้
น้องอลัน แมว British Shorthair วัย 8 เดือน เพศผู้ มาหาคุณหมอที่โรงพยาบาลสัตว์แอทโมส ด้วยอาการท้องเสียและมีเลือดปน แต่ยังร่าเริงและทานอาหารได้ตามปกติ โดยคุณหมอได้ทำการตรวจร่างกายและตรวจอุจจาระ พบว่าน้องอลันติดเชื้อโปรโตซัวชนิด trichimonas sppซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถติดได้จากน้ำที่ปนเปื้อน น้ำตามดิน หรือ น้ำรดน้ำต้นไม้
เนื่องจากน้องอลันเลี้ยงรวมกับแมวตัวอื่น ๆ ในบ้าน ทำให้น้องแมวตัวอื่น ๆ ได้แก่ น้องอลิน น้องดนัยวัฒนา และน้องเปรมปรีดา ต่างมีอาการท้องเสียเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณหมอได้ทำการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะสำหรับการกำจัดเชื้อโปรโตซัว ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์
หลังจากผ่านการรักษา คุณหมอนัดตรวจติดตามอาการ น้องแมวทั้งสี่ตัวถ่ายเป็นก้อนปกติ ไม่มีเลือดปน และไม่พบเชื้อโปรโตซัวในอุจจาระแล้ว
วิธีป้องกันการติดเชื้อโปรโตซัวในแมว:
1.รักษาความสะอาดของน้ำและอาหาร – ควรเลือกใช้น้ำและอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และเก็บรักษาในที่แห้งและสะอาด
2.ทำความสะอาดชามอาหารและน้ำเป็นประจำ – การล้างชามอาหารและน้ำอย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่
3.ควบคุมสุขอนามัยของที่อยู่อาศัย – ควรทำความสะอาดกรงหรือบริเวณที่แมวอยู่ รวมถึงทรายแมวทุกวันเพื่อลดการสะสมของเชื้อ
4.ตรวจสุขภาพแมวเป็นประจำ – พาน้องแมวมาตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้พบปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
5.แยกแมวป่วยออกจากแมวตัวอื่น – หากมีแมวตัวใดติดเชื้อ ควรแยกออกจากแมวตัวอื่นเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ
หากพบว่าน้องแมวมีอาการถ่ายเหลว หรือมีเลือดปน อย่ารอช้า ควรพามาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็คและรักษาโดยเร็ว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและป้องกันการแพร่เชื้อในบ้าน ตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงได้เลยที่ โรงพยาบาลสัตว์แอทโมส
—————————————————————————
“Healthy and Happy Petple”
เราอยากให้สัตว์เลี้ยงและเจ้าของสัตว์ มีสุขภาพดีและมีความสุขไปด้วยกัน
โรงพยาบาลสัตว์แอทโมส ซอยสังคมสงเคราะห์ 11
รักษาโดยสัตวแพทย์ และทีมอาจารย์แพทย์คลินิกเฉพาะทาง จากจุฬา
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00-21:00 น.
โทร: 062-524-2429
LINE: @utmostpet (มี@นำหน้า)
Instagram: utmostpethospital