1. icon-home
  2. ศูนย์และคลินิก
  3. ศูนย์โรคผิวหนัง
icon-share
แชร์

ศูนย์โรคผิวหนัง

โรคผิวหนังและภูมิแพ้ เป็นโรคที่สร้างความรำคาญและความไม่สบายตัวให้กับเจ้าตัวน้อย หากเป็นหนังอาจทำลายชั้นผิวหนัง หรือขนร่วงและไม่สามารถงอกใหม่ได้ตามธรรมชาติ แต่หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีก็จะสามารถรักษา หรือหยุดการะพัฒนาของโรคได้

ศูนย์โรคผิวหนังโรงพยาบาลสัตว์แอทโมส ให้บริการตรวจ ดูแล และรักษาโดยสัตวแพทย์มากประสบการณ์ที่พร้อมจะให้บริการเจ้าตัวน้อยของคุณอย่างครบวงจร ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้คุณมั่นใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะสุขภาพดีตั้งแต่ผิวหนังจนถึงมีสุขภาพขนที่สวยงามนุ่มน่าสัมผัส

ปัญหาโรคผิวหนังและภูมิแพ้ที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง

  • โรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อาหาร, แพ้สิ่งสัมผัส
  • โรคผิวหนังดำ (Alopecia X)
  • โรคจากการติดเชื้อ/ปรสิตภายนอก เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส, ยีสต์

อาการแบบไหนที่ควรพาเจ้าตัวน้อยมาหาสัตวแพทย์โรคผิวหนัง

  • สัตว์เลี้ยงมีอาการคัน
  • มีจุดแดงขึ้นตามตัวในบริเวณที่ติดเชื้อ
  • มีผื่น หรือแผลที่มีการแพร่กระจาย
  • ขนแข็ง ขนร่วง หรือมีรังแค
  • ดวงตามีน้ำตาออกมาก
  • สัตว์เลี้ยงกัด เกา หรือเลียบางส่วนของร่างกายเยอะกว่าปกติ
  • มีอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือหู

วิธีการตรวจและรักษา

  • ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ดูลึกถึงต้นตอปัญหา
  • ตรวจด้วยเครื่องตรวจเชื้อรา และตรวจเพาะเชื้อเพื่อเพิ่มความแม่นยำ
  • ตรวจผิวหนังและหูจากระดับฮอร์โมนผิดปกติ
  • ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุโรคภูมิแพ้
  • ให้คำแนะนำปรึกษาการดูแล และอาหารสำหรับสัตว์ป่วย

บริเวณที่พบอาการภูมิแพ้ทางผิวหนังได้บ่อย

  • อุ้งเท้า และเท้า
  • ใต้รักแร้
  • ใต้ขาหนีบ
  • คอและหู
  • โหนก

วิธีการป้องกันโรคผิวหนังและภูมิแพ้

  • ใส่ใจสารอาหาร: อาหารมีผลโดยตรงกับขนและผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ฉะนั้นต้องมั่นใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณได้รับสารอาหารครบถ้วน รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี (ซิงค์), โอเมก้า 3 และ 6 เป็นต้น
  • ใส่ใจความสะอาด: หมั่นแปรงขน อาบน้ำและตัดขนเจ้าตัวน้อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมการเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังและภูมิแพ้ รวมถึงเห็บหมัด
  • มั่นใจขนไม่เปียกชื้น: เพราะขนที่เปียกจะทำให้เกิดการสะสมของเชื่อจุลินทรีย์ต่างๆ ได้ คุณจึงควรหมั่นเช็กว่าเจ้าตัวเล็กของคุณขนแห้งดีหลังอาบน้ำ หรือเล่นซน
  • ทำความสะอาดจุดเสี่ยง: โดยเฉพาะฝ่าเท้าของเจ้าตัวน้อยที่สัมผัสกับแบคทีเรีย และสิ่งสกปรก คุณควรใส่ใจความสะอาดและความเปียกชื้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจุลินทรีย์
  • หยอด/กินยาเห็บหมัดสม่ำเสมอ: เห็บหมัดตัวการนำเชื้อจุลินทรีย์สู่เจ้าตัวน้อย คุณจึงควรป้องกัน ป้อนยาและเช็กขนเจ้าตัวน้อยอย่างสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่พบโรคผิวหนังบ่อย

สุนัข: ลาบราดอร์, โกลเดน, บูลด็อก, สเปเนียล, ปอมเมอริเนียน, พุดเดิ้ล

แมว: เปอร์เซีย

สัตวแพทย์ประจำศูนย์โรคผิวหนัง

รศ. สพ.ญ.ดร.มีนา สาริกะภูติ

เครื่องมือ

  • กล้องจุลทรรศน์
  • ชุดตรวจเชื้อรา
  • เครื่องส่องหู
  • ชุดเพาะเชื้อรา

ศูนย์และคลินิกอื่นๆ

คลินิกแมว
คลินิกอายุรกรรม และผ่าตัดศัลยกรรม
คลินิกกระดูก
คลินิกโรคตา
นัดหมาย